Custom Search

Search This Blog

Saturday, May 2, 2020

Market Cycle Update Part 1


Market Cycle Update Part 1: 2/5/2020
(Quant View)

1. ตลาดหุ้นโลกและไทยในช่วงหนึ่งเดือนครึ่งที่ผ่านมารีบาวด์เฉลี่ย 15-30% ซึ่งถือเป็นการปรับตัวขึ้นที่เร็วและแรงมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

2. ในสัปดาห์ที่สามของ มี.ค. เราเคยให้ความเห็นในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังตึงเครียดว่า ให้ระวังการรีบาวด์อย่างรุนแรง โดยเราให้เหตุผลไปว่า 1) quant model ส่งสัญญาณการสะท้อนกลับ จึงทำให้มีโอกาสเกิดภาพ dead cat bounce ได้  2) เราประเมินว่าจะมีโฟลว์ข่าวบวกเข้ามาหนุนตลาดหลายเรื่องติดๆกัน จนทำให้เซนติเม้นต์โดยรวมดีขึ้น เช่น
(1) การลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายประเทศ  (2) การทำ QE ของสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น
(3) มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของหลายประเทศ
(4) การพีคของ New Case ในยุโรปและสหรัฐ
(5) ข่าวความคืบหน้าผลทดลองยาต้านไวรัส Remdesivir ของบริษัท Gilead
(เกิดขึ้นจริงทั้ง 5 ข้อ)

3. การรีวิวภาพตลาดหัวข้อที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นภาพว่า การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในเดือนเม.ย.เกิดจากกลไกใดเป็นตัวผลักดัน สำหรับหัวข้อถัดไป เราจะมาถกกันต่อว่า แนวโน้มของตลาดหุ้นโลกและไทยจะเป็นอย่างไรในช่วงที่เหลือของไตรมาส 2 ต่อจากนี้คือโอกาสที่จะเป็นไปได้ตามความเห็นของเราครับ

4. แนวโน้มตลาดสามารถแบ่งเป็น 3 Scenario ตามความน่าจะเป็นจากน้อยไปมากดังต่อไปนี้
(1) แบบแรก SET ปรับตัวขึ้นต่อทะลุ 1350 จุดขึ้นไป (เราเชื่อว่ากรณีนี้มีความเป็นไปได้ต่ำสุด)
(2) แบบที่สอง SET สร้างฐานวิ่ง Sideways อยู่ในกรอบ 1270 - 1350 รอจนกว่าโมเมนตั้มของราคาจะลดความร้อนแรงลง และรอปัจจัยใหม่เข้ามาหนุน (กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าแบบแรก)
(3) แบบที่สาม ตลาดหุ้นโลกและไทยจะปรับฐานคล้ายๆกันในเดือน พ.ค.- มิ.ย. โดย SET มีดาวน์ไซด์อยู่ที่ 1085 จุด (กรณีนี้มีความเป็นไปได้มากสุดตามความเห็นของเรา)

5. ส่วนปัจจัยที่เราประเมินว่าจะเป็นกลไกผลักดันให้เกิดการปรับฐานของตลาดหุ้นโลกและไทยในเดือน พ.ค.- มิ.ย.มีดังต่อไปนี้

5.1) ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเร็วและแรงกว่า 15-30% ภายในระยะเวลาที่สั้น ซึ่งจะเป็นเหตุจูงใจให้เกิดแรงขายทำกำไร

5.2) Quant Market Timing Model ส่งสัญญาณการปรับฐานของตลาด (อ้างอิงรายงาน Quantitative Strategy วันที่ 30 เม.ย.)

5.3) ตลาดหุ้นส่วนใหญ่รีบาวด์จนเข้าใกล้หรือแตะแนวต้านที่สำคัญ เช่น Fibonacci Retracement  EMA75 และ EMA200 เป็นต้น (ตามภาพแนบ)

5.4) การหั่นประมาณการกำไรของตลาดยังไม่น่าจะจบ (พิจารณาได้จากตัวอย่างการหั่นประมาณการกำไรในช่วงวิกฤตปี 2008 ตามภาพแนบ)

5.5) บริษัทต่างๆ ยังไม่แน่ใจต่อแนวโน้มธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี ทำให้ฝ่ายบริหารจึงอาจเลือกที่จะ
(1) ไม่ให้ Guidance  ใดๆ (ดังที่เกิดขึ้นกับบริษัท Apple จนทำให้หุ้นมีแรงขายในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา) b) ให้ภาพคลุมเครือไม่ชัดเจน (ซึ่งตลาดคงไม่ชอบ)

5.6) โอกาสเกิดข่าวการล้มละลายของบริษัทต่างๆในต่างประเทศ เช่น
(1) อุตสาหกรรมน้ำมัน (ราคาน้ำมันต่ำกว่า 30 เหรียญจะทำให้บริษัทน้ำมันจำนวนมากในสหรัฐและแคนาดาล้มละลายหรือต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ)
(2) อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ท่องเที่ยว สายการบิน ธุรกิจค้าปลีก ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และบริษัทสตาร์ตอัพต่างๆเป็นจำนวนมาก เป็นต้น (ข่าวนี้จะดึงความสนใจของนักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆดังตัวอย่างตามภาพแนบ)

5.7) ข่าว Bankruptcy จะทำให้เกิดความตึงเครียดในตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง (Second Wave of Credit Market Stress;  MOVE Index, Corporate Bond Yield และ CDS Spread มีโอกาสพุ่งขึ้นอีกรอบ คล้ายกับที่เกิดขึ้นในปี 2008-2009 ตามภาพแนบ)

5.8) การคลายมาตรการล็อคดาวน์ที่เร็วเกินไปของบางประเทศ จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสรอบสอง (Second Wave of COVID-19) ซึ่งมีโอกาสสร้างความกังวลอีกครั้งประมาณสัปดาห์ที่ 3-4 ของเดือน พ.ค. (เริ่มมีสัญญาณข่าวให้เห็นแล้วตามภาพแนบ)

5.9) การกลับมาล็อคดาวน์อีกครั้งหลังเกิด Second Wave of COVID-19 จะทำให้ตลาดกังวล

5.10) แม้ยาต้านไวรัส Remdesivir มีโอกาสได้รับอนุมัติจาก FDA แต่ก็คงผลิตไม่ทันกับความต้องการ หากการแพร่ระบาดระลอก 2 เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด

5.11) การฟื้นตัวของการบริโภคจะช้ากว่าที่ตลาดคาดหวัง (ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในเวียดนาม)

5.12) ความตึงเครียดระหว่างประเทศจะสูงขึ้น กระตุ้นจาก
(1) ปัญหาเศรษฐกิจจะกดดันให้คู่ขัดแย้งเกิดการกระทบกระทั่งกันได้ง่ายขึ้น เช่น สหรัฐ-อิหร่าน และ เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ เป็นต้น
(2) การหาต้นตอของโควิด-19 รวมถึงข้อกล่าวหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการแชร์ข้อมูลของจีนจะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาติตะวันตก (สหรัฐ + ยุโรป) กับจีน (เริ่มเห็นสัญญาณแล้วตามภาพแนบ)

5.13) Z-Score of Momentum Signal ที่ดีขึ้น และ Overnight Volatility ที่ลดลงของปัจจุบัน จะทำให้ระบบ Systematic Trading เกิดสัญญาณซื้อ แต่ whipsaw อันเป็นผลมาจากปัจจัยข้อ 5.1-5.12 จะทำให้เกิด false signal และยิ่งไปสร้างแรงขายที่รุนแรงขึ้นต่อตลาดในภายหลัง

5.14) ผล survey ของ American Association of Individual Investors ชี้ว่า คนมองแนวโน้มตลาดดีขึ้น และมีสัดส่วนน้อยลงที่เชื่อว่าตลาดจะปรับฐาน ซึ่ง crowd behavior นี้คือสัญญาณสำหรับ Contrarian

5.15) Forward PE แพงในหลายๆตลาด และเร็วไปที่จะ rollover ไปปีหน้า เนื่องจากตลาดยังไม่ทราบว่า earnings downgrade จะ bottom ตรงไหนและที่เท่าไหร่

5.16) บางเซคเตอร์อาจถูก cut earnings น้อยไป ซึ่งการหั่นประมาณการในภายหลัง ก็อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดโดยรวมได้ เนื่องจากการปรับพอร์ตของนักลงทุน (หุ้นรายตัวที่ลงแรงบ่อยขึ้น คงไม่มีใครชอบ)

5.17) การรีบาวด์ของตลาดหุ้นรอบนี้ไม่เห็นสัญญาณ Fund Flow ไหลเข้า EM เห็นเพียงแต่การไหลเข้า DM เท่านั้น ซึ่งแตกต่าง QE รอบก่อน (อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของตลาดโลกยังเปราะบาง)

5.18) ในตลาดสหรัฐและยุโรป เงินจำนวนมากไหลเข้าหุ้น Mega Cap ทำให้เกิด Concentration Risk ที่สูงขึ้น

เราเชื่อว่าประเด็นต่างๆในข้อ 5 จะสร้างความสั่นคลอนให้ตลาดหุ้นโลกและไทยได้ในระยะสั้นจนทำให้เกิดการปรับฐานในที่สุด

สำหรับบทความตอนหน้า เราจะพูดลงรายละเอียดในบางหัวข้อเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นครับ

หมายเหตุ: ปลายปีนี้ดัชนี SET และ S&P500 น่าจะปรับตัวขึ้นสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ เพียงแต่ว่าในระยะสั้นมีโอกาสเกิด Major Correction ก่อน  จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่รุมเร้า

BLS Quant Team